คุณลักษณะของระบบสารสนเทศ

3 ก.ค.

คุณลักษณะของระบบสารสนเทศ

1.ระบบประมวลผลรายการประจำ (Transaction Processing Systems : TPS)
• เป็นระบบที่ต้องนำคอมพิวเตอร์มาใช้สำหรับงานประจำที่ต้องทำในองค์กร เช่น การฝาก-ถอนเงินในธนาคาร เป็นต้น
• ลักษณะการทำงานต้องเป็นงานที่ปฏิบัติทุกวันสำหรับองค์กรต่างๆทางธุรกิจ มีลักษณะดังนี้ คือ
– เป็นงานที่มีจำนวนปฏิบัติงาน(Transactions) จำนวนมาก
– มีลักษณะการปฏิบัติงาน(Transactions) ที่เหมือนกัน
– มีขั้นตอนการทำงานที่เข้าใจง่ายและอธิบายรายละเอียดได้
– เป็นงานที่เกิดขึ้นซ้ำๆ ในองค์กร

 

2.ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information Systems : MIS)

–   จะสนับสนุนการทำงานของระบบประมวลผลข้อมูลและการจัดเก็บข้อมูลรายวัน

–  จะใช้ฐานข้อมูลที่ถูกรวมเข้าด้วยกันและสนับสนุนการทำงานของฝ่ายต่างๆ ในองค์กร
–  จะช่วยให้ผู้บริหารระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง เรียกใช้ข้อมูลที่เป็นโครงสร้างได้ตามเวลาที่ต้องการ
–  จะมีความยืดหยุ่นและสามารถรองรับความต้องการข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไปขององค์กร
–  ต้องมีระบบรักษาความลับของข้อมูล และจำกัดการใช้งานของบุคคลเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น

 

3.ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems : DSS)

– สามารถสนับสนุนการตัดสินใจทั้งในสถานการณ์ของปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง

– สามารถรองรับการใช้งานของผู้บริหารทุกระดับ

– สามารถสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม และแบบเดี่ยว

– สามารถสนับสนุนการตัดสินใจได้ทั้งปัญหาแบบเกี่ยวพันและ/หรือปัญหาต่อเนื่อง

– สนับสนุนการตัดสินใจในขั้นตอนต่าง ๆ ของกระบวนการตัดสินใจได้

– สนับสนุนกระบวนการและรูปแบบการตัดสินใจที่มีความหลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

– ในการพัฒนาจะเน้นหนักในการทำงานที่สำเร็จตามเป้าหมายมากกว่า ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระบบ

– มีหน้าที่สนับสนุนการตัดสินใจเท่านั้น ไม่ใช่ทำหน้าที่แทนผู้ตัดสินใจ

– ระบบที่มีความซับซ้อน ควรขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

– เป็นระบบที่ใช้วิธีวิเคราะห์สถานการณ์การตัดสินใจด้วยแบบจำลอง ต่าง ๆ ระบบจึงต้องสามารถสร้างแบบจำลอง เพื่อทดสอบป้อนค่า ตัวแปร และเปลี่ยนค่าไปเรื่อย ๆ เพื่อสร้างทางเลือกต่าง ๆ

–  สามารถเข้าถึงแหล่งเก็บข้อมูลได้หลากหลาย

 

4.ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Information Systems : EIS)

– ไม่จำเป็นต้องมีทักษะทางคอมพิวเตอร์สูง
– ระบบสามารถใช้งานได้ง่าย
– มีความยืดหยุ่นสูง จะต้องสามารถเข้ากันได้กับรูปแบบการทำงานของผู้บริหาร
– การใช้งาน ใช้ในการตรวจสอบ ควบคุม
– การสนับสนุนการตัดสินใจ ผู้บริหารระดับสูง ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน
– การสนับสนุนข้อมูล ทั้งภายในและภายนอกองค์กร
– ผลลัพธ์ที่แสดง ตัวอักษร ตาราง ภาพและเสียง รวมทั้งระบบมัลติมีเดีย
– การใช้งานกราฟิกสูง จะใช้รูปแบบการนำเสนอต่าง ๆ
– ความเร็วในการตอบสนอง จะต้องตอบสนองอย่างรวดเร็ว ทันทีทันใด

 

5.ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System : ES)

–   ป้องกันและรักษาความรู้ซึ่งอาจสูญหายไปขณะทำการเรียกข้อมูลหรือการยกเลิกการใช้ข้อมูล การใช้ข้อมูล ตลอดจนการสูญหาย เนื่องจากขาดการเก็บรักษาความรู้ อย่างเป็นระบบ และเป็นระเบียบ แบบแผน

–  ระบบผู้เชี่ยวชาญ Expert System จะจัดเตรียมข้อมูลให้อยู่ในลักษณะที่พร้อมสำหรับนำไปใช้งาน และมักจะถูกพัฒนาให้สามารถตอบสนอง ต่อปัญหาในทันทีที่เกิดความต้องการ

– การออกแบบระบบผู้เชี่ยวชาญ Expert System มักจะคำนึงถึงการบันทึกความรู้ในแต่ละสาขาให้เพียงพอและเหมาะสมกับการใช้งาน ซึ่งจะทำให้ ระบบสามารถปฏิบัติงานแทนผู้เชี่ยวชาญ อย่างมีประสิทธิภาพ

–  ระบบผู้เชี่ยวชาญ Expert System จะสามารถตัดสินปัญหาอย่างแน่นอ น เนื่องจากระบบถูกพัฒนาให้สามารถปฏิบัติงานโดยปราศ จากผล กระทบ ทางร่างกายและอารมณ์ที่มีอยู่ในตัวมนุษย์เช่น ความเครียด ความเจ็บ ป่วย เป็นต้น

–   ระบบผู้เชี่ยวชาญ Expert System เป็นเครื่องมือเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจ โดยเฉพาะองค์การสมัยใหม่ ( Modern Organization ) ที่ต้องการ สร้าง ความได้เปรียบในการแข่งขัน เช่น การวิเคราะห์และวางแผนการตลาด การลดต้นทุน การเพิ่มการผลิตภาพ เป็นต้น

 

6.ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation Systems: OAS)
– การสื่อสารข้อมูลภายในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นบันทึกคำสั่งของผู้บริหาร จดหมายอีเล็กทรอนิกส์ และข่าวสารต่างๆ
– การจัดพิมพ์เอกสารได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้องและมีคุณภาพในการปฏิบัติงาน
– ใช้ควบคุมการทำงานของระบบโทรศัพท์ เช่น การรับข้อความจากผู้ที่โทรศัพท์เข้ามาในสำนักงานแล้วบันทึกเสียงไว้
– ออกแบบระบบสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ
– การประชุมทางไกลผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
– การจัดระบบเอกสารอีเล็กทรอนิกส์
– การกำหนดการนัดหมายของผู้บริหารและการกำหนดเวลาต่าง ๆ
– การคำนวณพื้นฐานของสำนักงาน
– การจัดทำฐานข้อมูลของสำนักงาน
– เป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร

ใส่ความเห็น